เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อ
ฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเสื่อมแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาจึง
เกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[42] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทาน
ศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค
ออกจากผลแล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผล แล้วพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :667 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ยินดี
เพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
[43] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
[44] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เพราะ
ทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมี
จิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออก
จากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผล แล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :668 }